“ส้ม” ไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด

หลังจาก NGO พบสารตกค้าง ภายในส้มทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวลใจในการรับประทานส้ม โดยทางสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย อธิบายว่า การที่ทาง NGO พบสารตกค้างในส้มมีดังนี้ :~

  1. วิเคราะห์หาสารตกค้างในผลไม้ ต้องวิเคราะห์ตัวเนื้อและเปลือก โดยไม่ล้างผลไม้
  2. กรมวิชาการเกษตร เคยทำการทดลองวิเคราะห์ส้มเขียวหวานและส้มโอ แยกเนื้อและเปลือก พบว่า สารตกค้างอยู่แค่ในเปลือกส้มเท่านั้น
  3. ค่าสารตกค้างที่เกินมาตรฐาน MRLs หรือ Maximum Residue Limits ไม่ใช่ค่ามาตรฐานความปลอดภัย เป็นเพียงค่ามาตรฐานทางการค้าเท่านั้น
  4. ค่า ADI (Acceptable Daily Intake) เป็นค่าความปลอดภัยที่บอกเราว่า ในแต่ละวัน ร่างกายมนุษย์สามารถรับสารนั้นเข้าสู่ร่างกายทางปากได้ทุกวันอย่างปลอดภัยจนตลอดอายุขัย ในปริมาณเท่าไหร่ มีหน่วยเป็น มิลลิกรัมของสาร / กิโลกรัมน้ำหนักตัวผู้บริโภค / วัน ซึ่ง ค่า ADI ต้องใช้ค่าเฉพาะอื่น มาประกอบด้วย คือ น้ำหนักตัว (body weight) ของผู้บริโภค และ ปริมาณส้มที่คนๆนั้นสามารถบริโภคได้ต่อวัน ยกตัวอย่างเช่น ค่า ADI ของพาราควอต (เป็นสารกำจัดวัชพืช) มีค่าเท่ากับ 0.005 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัวของผู้บริโภค / วัน แสดงว่า คนน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม สามารถรับพาราควอตเข้าสู่ร่างกายได้อย่างปลอดภัยวันละ = 005 x 60 = 0.3 มิลลิกรัม

หากจะรับประทานส้มที่มีค่า ADI ดังกล่าว เกินค่าความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคที่มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 60 กิโลกรัม จะต้องรับประทานส้มทั้งเปลือก วันละ 15 กิโลกรัมต่อเนื่องไปจนหมดอายุขัย จึงจะเกิดอันตราย แต่หากรับประทานโดยการปอกเปลือกส้มออกก่อน จะทำให้ได้รับสารตกค้างภายในร่างกายน้อยลงกว่ารับประทานทั้งเปลือก

 

ขอบคุณที่มา : สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย และ ฐานเศรษฐกิจ