“แกะ ล้าง เก็บ” ก้าวสู่ปีที่ 7 กับกิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อคนไทย

“แกะ ล้าง เก็บ” ก้าวสู่ปีที่ 7 กับกิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อคนไทย

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัทต้นแบบธุรกิจเพื่อสังคมที่ดำเนินงานด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและเกษตรกร ส่งเสริมการพัฒนาความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “วิถีสีเขียว” (Doi Kham Living Green) และจัดการขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) เป็นที่มาของกิจกรรม แกะ ล้าง เก็บ ที่นำกล่องยูเอชทีใช้แล้ว กลับสู่กระบวนการอัพไซคลิ่งเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ก่อนนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทดแทนการใช้เม็ดพลาสติกบริสุทธิ์ 100 %
นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด กล่าวว่า “กล่องยูเอชที เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ดีและนาน อีกทั้งยังใช้พลังงานในการผลิตต่ำ เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกล่องยูเอชที มีการใช้วัสดุต่างชนิดถึง 6 ชั้น การจัดการรีไซเคิลจึงไม่ใช่เรื่องง่าย กิจกรรม แกะ ล้าง เก็บ จึงเป็นกิจกรรมที่เข้ามาช่วยรณรงค์ และหาทางออกให้กับขยะประเภทนี้”
กว่า 7 ปีที่ดอยคำ เล็งเห็นถึงประโยชน์จากกล่องยูเอชทีที่มีส่วนประกอบของวัสดุหลายอย่าง เช่น กระดาษ อะลูมิเนียมฟอยล์ และพลาสติก ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ หากนำไปเผาก็กลายเป็นมลพิษในอากาศ จึงนำกิจกรรม แกะ ล้าง เก็บ ที่นำกล่องยูเอชทีทำความสะอาดแล้ว มาแปรรูปอัพไซคลิ่ง เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ พาเลทไม้ดอยคำ เก้าอี้อเนกประสงค์ กระถางปลูกต้นไม้ และกรวยจราจร
ร่วมสร้างโลกสีเขียวไปกับดอยคำ ด้วยการ แกะ ล้าง เก็บ กล่องยูเอชที และนำมาบริจาค ณ จุดรับบริการต่าง ๆ อาทิ สถานีรถไฟฟ้าทั้ง 4 สถานี ได้แก่ ราชเทวี สยาม อโศก ศาลาแดง ร้านโกลเด้น เพลซ สาขากรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (สาขาราบที่ 11) และ สาขาสะพานสูง ร้านสวัสดิการทหารอากาศ ดอนเมือง และร้านพลังบุญ พิเศษ กล่องยูเอชที ตราดอยคำ สามารถใช้แลกเป็นส่วนลดสำหรับซื้อผลิตภัณฑ์และเครื่องดื่ม ตราดอยคำ ณ ร้านดอยคำทุกสาขา โดย 1 กล่อง มีมูลค่าแทนส่วนลด 1 บาท ไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำ เพื่อแทนคำขอบคุณในการใส่ใจโลกที่น่าอยู่

ดอยคำ ร่วมกับชุมชนรอบโรงงานหลวงฯ ทำบุญทอดกฐินสามัคคี (สายเหนือ) ประจำปี 2566

ดอยคำ ร่วมกับชุมชนรอบโรงงานหลวงฯ ทำบุญทอดกฐินสามัคคี (สายเหนือ) ประจำปี 2566

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด นำโดย นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ พนักงาน หน่วยงานราชการ คู่ค้าดอยคำ และชุมชนบริเวณรอบโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ และโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2 (แม่จัน) จังหวัดเชียงราย ร่วมสืบสานประเพณีทำบุญทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2566 ในกิจกรรม “กฐินสามัคคีดอยคำ” ภายใต้ “โครงการวัดของเรา วัดของชุมชน” เพื่อร่วมสืบสานประเพณีสำคัญของพุทธศาสนา วัฒนธรรมชุมชน พัฒนาวัดรอบโรงงานหลวงฯ ตามหลักการบ้าน วัด โรงเรียน และโรงงานหลวงฯ (บ-ว-ร-ร)

พร้อมกันนี้ “ดอยคำ” ได้สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการจัดการขยะอย่างถูกวิธีให้แก่ชุมชน และผู้ร่วมกิจกรรมกฐิน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในข้อที่ 12.5 ลดการเกิดของเสียโดยให้มีการป้องกัน การลดปริมาณ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่
วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 : ที่ จ.เชียงใหม่ ฅนดอยคำร่วมกิจกรรม “กฐินสามัคคีดอยคำ” ปี 2566 ภายใต้ “โครงการวัดของเรา วัดของชุมชน” และปรับปรุงพื้นที่ภายในวัด ณ วัดทุ่งจำลอง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดรอบโรงงานหลวงฯ ที่ 1 (ฝาง) จ.เชียงใหม่ ให้มีเขตพุทธาวาส สังฆาวาส และธรณีสงฆ์ ที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และเป็นต้นแบบการพัฒนาวัดอย่างยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 : ที่ จ.เชียงราย ฅนดอยคำร่วมกิจกรรม “กฐินสามัคคีดอยคำ” ปี 2566 ภายใต้ “โครงการวัดของเรา วัดของชุมชน” และปรับปรุงพื้นที่ภายในวัด ณ วัดป่าห้า (เบญจพัฒนมงคล) ต.ป่าซาง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นวัดรอบโรงงานหลวงฯ ที่ 2 (แม่จัน) จ.เชียงราย ให้มีเขตพุทธาวาส สังฆาวาส และธรณีสงฆ์ ที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และเป็นต้นแบบการพัฒนาวัดอย่างยั่งยืน
สำหรับ กิจกรรม “กฐินและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ปี 2566 ของ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ครั้งต่อไป

วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 วัดนางอย จังหวัดสกลนคร
วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 วัดซับสมบูรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์

โดยท่านสามารถบริจาคได้โดยการโอนเข้าบัญชี บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า เลขที่บัญชี 1693057638 หรือบริจาคผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ดจากสื่อประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง และร้านดอยคำทุกสาขา

หมายเหตุ : หากท่านประสงค์รับใบอนุโมทนาบัตรเพื่อลดหย่อนภาษีโปรดนำส่งหลักฐานการโอนเงิน พร้อมเขียนชื่อ-สกุล เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และที่อยู่สำหรับการจัดส่ง ให้ถูกต้องชัดเจน แจ้งข้อมูลผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ดจากสื่อประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง

โอกาสนี้ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่ได้ร่วมบุญกันในงานกฐินสามัคคี มา ณ ที่นี้ด้วย

ดอยคำ ร่วมกับ GC จัดกิจกรรม “ทิ้ง ให้ ดี” ภายใต้โครงการดอยคำเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต่อยอดสู่ชุมชน ประจำปี 2566

ดอยคำ ร่วมกับ GC จัดกิจกรรม “ทิ้ง ให้ ดี” ภายใต้โครงการดอยคำเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต่อยอดสู่ชุมชน ประจำปี 2566

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด นำโดย นางสุกัญญา ศรีสุทธิยากร รองผู้จัดการใหญ่ (ด้านบริหาร) นายรมร ธนะโสภณ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายสังคมและการพัฒนา พร้อมด้วยฅนดอยคำ ­จัดกิจกรรม “ทิ้ง ให้ ดี” ภายใต้ โครงการดอยคำเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต่อยอดสู่ชุมชน ประจำปี ๒๕๖๖ ร่วมกับ คุณศศชล ชำนาญเวช Circular Economy Officer พร้อมทีมงาน YOU เทิร์น PLATFORM by GC ภายในงานมีการจัดอบรมให้ความรู้ชนิดของพลาสติกแต่ละประเภท วิธีการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง และการนำขวดพลาสติก PET เข้าสู่กระบวนการอัพไซคลิ่ง (Upcycling) ให้กับเด็ก เยาวชน และคนในชุมชน ณ ชุมชนซอยสมประสงค์ 5 เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ดอยคำ ได้มอบถังสำหรับคัดแยกขวดพลาสติก PET ที่ได้รับการสนับสนุนจาก YOU เทิร์น PLATFORM by GC ให้ชุมชนซอยสมประสงค์ 5 เพื่อให้เป็นจุดรวบรวม (Drop Point) ขวดพลาสติก PET อีกด้วย

บริษัทฯ มุ่งหวังขยายพื้นที่ภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการคัดแยกขยะ เป็นชุมชนต้นแบบ “วิถีชุมชนสีเขียว” นำไปสู่กระบวนการบริหารจัดการขยะที่เป็นระบบภายในชุมชน โดยนำขวดพลาสติก PET ที่รวบรวมได้ จำหน่ายเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล (Recycle) ที่ถูกต้อง เกิดเป็นรายได้ให้กับชุมชน สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

“วิถีดอยคำ วิถีสีเขียว” ส่งต่อ “วิถีสีเขียว สู่ชุมชน”

“ดอยคำ” ลุยน้ำท่วม มอบน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพให้ผู้ประสบภัยเขตดอนเมือง ร่วม 300 ครัวเรือน

“ดอยคำ” ลุยน้ำท่วม มอบน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพให้ผู้ประสบภัยเขตดอนเมือง ร่วม 300 ครัวเรือน

วันนี้ 12 กันยายน พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือนร้อน จากผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้หลายครอบครัวในพื้นที่เขตดอนเมือง ยังต้องประสบกับปัญหาน้ำที่ยังท่วมเข้ามาในที่พักอาศัย

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด โดย นายปริวรรตน์ คณากัมพลสิทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร พร้อมด้วยฅนดอยคำ ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) องค์กรอาสาสมัครเส้นด้าย รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดถุงยังชีพ ลุยน้ำท่วมไปส่งมอบให้กับประชาชนในเขตดอนเมือง พร้อมพูดคุยและให้กำลังใจ

สำหรับชุมชนที่เดินทางเข้าไปมอบของ ได้แก่ ชุมชนสตรีเหล็กพัฒนา  ชุมชนทำนบร่วมใจ  ชุมชนพรหมสัมฤทธิ์  ชุมชนสะพานปูน  ชุมชนปู่เจ้าสมิงพราย  ชุมชนประเสริฐเปรมประชา  และชุมชนประชากร 4 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และป่วยติดเตียง ทั้งนี้ ดอยคำได้ร่วมมอบน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ให้แก่ประชาชนจำนวน 300 ครัวเรือน ซึ่งมีประชากรอาศัยกว่า 1,000 คน

“ดอยคำ” ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตน้ำท่วมนี้ไปด้วยกัน

ดอยคำ มอบผลิตภัณฑ์ แทนความห่วงใย ให้แก่ชุมชนพื้นที่โดยรอบโรงงานหลวงฯ เนื่องในสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

ดอยคำ มอบผลิตภัณฑ์ แทนความห่วงใย ให้แก่ชุมชนพื้นที่โดยรอบโรงงานหลวงฯ เนื่องในสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด โดยเจ้าหน้าที่และพนักงาน โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ ส่งต่อความห่วงใย มอบผลิตภัณฑ์ดอยคำ ได้แก่ น้ำดื่มดอยคำ น้ำลิ้นจี่เข้มข้น แยมผลไม้ สารสกัดฟ้าทะลายโจร รวมไปถึงข้าวกล่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่โดยรอบโรงงานหลวงฯ ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2564

ดอยคำ ใส่ใจสังคม ร่วมบริจาคขวด PET กิจกรรม “ทิ้ง เพื่อ ให้“ ทำเป็นชุด PPE มอบแก่บุคลากรทางการแพทย์สู้โควิด-19

ดอยคำ ใส่ใจสังคม ร่วมบริจาคขวด PET กิจกรรม “ทิ้ง เพื่อ ให้“ ทำเป็นชุด PPE มอบแก่บุคลากรทางการแพทย์สู้โควิด-19

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด จัดกิจกรรม "ทิ้ง เพื่อ ให้" ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการมอบความห่วงใยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยการนำขวดพลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate) ที่จะทิ้ง มามอบให้จุดรับขวด ณ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (สำนักงานใหญ่)

เพื่อนำไปเข้าร่วม "โครงการแยกขวดช่วยหมอ" ที่บริษัทฯ ได้ประสานความร่วมมือกับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) นำไป Upcycling เป็นชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) มอบให้บุคลากรทางการแพทย์ ใช้ปฏิบัติงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้ตลอด 2 เดือน ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่และพนักงาน รวมถึงประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ปัจจุบันได้รับขวดพลาสติก PET จำนวน 41,016 ขวด ผลิตเป็นชุด PPE ได้ จำนวน 2,279 ชุด (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564)

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ มอบน้ำดื่มสนับสนุนกิจกรรมทำแนวป้องกันไฟป่าในพื้นที่ตำบลแม่งอน

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ มอบน้ำดื่มสนับสนุนกิจกรรมทำแนวป้องกันไฟป่าในพื้นที่ตำบลแม่งอน

เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เนื่องจากในช่วงหน้าร้อนของทุกปี จะเกิดสถานกาณ์ไฟป่า ส่งผลทำให้เกิดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออกตามมา ชุมชนบ้านยางและหน่วยงานราชการในพื้นที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมทำแนวป้องกันไฟป่าในพื้นที่ตำบลแม่งอนขึ้น

ทั้งนี้ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย นายคฑาวุธ เลี่ยนเครือ ผู้จัดการโรงงานหลวงฯ ที่ ๑ (ฝาง) จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และพนักงานประจำโรงงานหลวงฯ ได้ร่วมกันทำแนวป้องกันไฟป่า เพื่อป้องกันการลุกลามของไฟป่า ไปยังพื้นที่ต่างๆ ของป่า พร้อมทั้งมอบน้ำดื่มดอยคำ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้อีกด้วย

ปัญหาไฟป่า ยังคงเป็นปัญหาระดับประเทศ นำมาสู่ปัญหาวิกฤตหมอกควันในระดับที่รุนแรง รวมถึงก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในหลายพื้นที่ สาเหตุหลักเกิดมจากการลักลอบเผาป่า

ขอต้อนรับยุวมัคคุเทศก์ โรงงานหลวงฯ ที่ ๑ (ฝาง) จ.เชียงใหม่

ขอต้อนรับยุวมัคคุเทศก์ โรงงานหลวงฯ ที่ ๑ (ฝาง) จ.เชียงใหม่

เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่และพนักงานพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) นำโดยนายทวีศักดิ์ เลาสหวิโรจน์ รองผู้จัดการใหญ่ (ด้านนวัตกรรม และการผลิต) และนางสาวธนมนพร เตชะตน ผู้จัดการโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันให้ความรู้กับน้องๆ นักเรียนและเยาวชนในพื้นที่รอบโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จ.เชียงใหม่ ที่สมัครเข้ามาเป็นยุวมัคคุเทศก์โรงงานหลวงฯ เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติตนของจิตอาสา ปลูกฝังการเสียสละ ความมีน้ำใจ รักบ้านเกิด และการช่วยเหลือสังคม พร้อมมีทักษะในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ในชุมชนของตนเองแก่ผู้มาเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) จ.เชียงใหม่

สำหรับ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงการศึกษาด้านอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป และเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงแนวพระราชดําริในการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง